ประวัติความเป็นมา

เครือข่ายเชิงประเด็นด้านการวิจัย เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2547 พันธกิจหลักที่สำคัญ คือการพัฒนาท้องถิ่นบนฐานความรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือการทำงาน ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย สร้างทุนปัญญาให้กับชุมชน มุ่งสู่เวทีการแข่งขันของประเทศสู่สากล และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเครือข่ายวิจัยฯ มีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ เป็นประธานเครือข่าย มีการทำงานครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่

1. นนทบุรี

2. ปทุมธานี

3. อยุธยา

4. ลพบุรี

5. ชัยนาท

6. อ่างทอง

7. สิงห์บุรี

8. สระบุรี

เป้าหมายของเครือข่ายวิจัยฯ คือการเสริมสร้างขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนางานวิจัยที่มีมาตรฐานและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอด และขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยการสนับสนุนให้อาจารย์และนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายฯ ได้ศึกษาค้นคว้าทำวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม และ ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่ตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรม โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก และโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์มีคณะกรรมการและคณะทำงานรวม 3 ชุด คือ

โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ (O)

โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก (P)

คณะกรรมการและคณะทำงานรวม 3 ชุด

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน

คณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก

คณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์

เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวเครือข่ายฯได้กำหนดกรอบภารกิจการดำเนินงาน ไว้เป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรก คือการกำหนดทิศทางและกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของท้องถิ่น วางหลักเกณฑ์ แนวทางเพื่อการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และคัดเลือกโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ บริหารจัดการระบบข้อมูลของเครือข่าย และ พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างนักวิจัย ในเครือข่ายวิจัย ส่วนที่สอง เป็นเรื่องการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย การวิจัยให้มีคุณภาพเพื่อชุมชนท้องถิ่น โดยพัฒนาโครงการวิจัยที่ได้จากการมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่สู่ สาธารณชน รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่าย ทั้งในภาพรวมและรายชุดโครงการการดำเนินของเครือข่ายวิจัยฯ โครงการได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน